เมนู

ศีลท่านกล่าวไว้ในเบื้องต้น สมาธิ และภาวนา
ท่านกล่าวไว้แล้ว ในท่ามกลาง และนิพพาน
กล่าวไว้ในที่สุด ข้ออุปมาด้วยพิณนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้แล้ว ดังนี้.

จบ อรรถกถาวีณาสูตรที่ 9

10. ฉัปปาณสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเสี้ยนหนามของชาวบ้าน


[306] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีตัวเป็นแผล มีตัวเป็นพุพอง
พึงเข้าไปสู่ป่าหญ้าคา ถ้าแม้หน่อหญ้าคาพึงตำเท้าของบุรุษนั้น ใบหญ้าคา
พึงบาดตัวที่พุพอง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการตำและการบาดนั้น
เป็นเหตุ โดยยิ่งกว่าประมาณ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูป
ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี ย่อมได้บุคคลผู้กล่าวท้วงว่า
ท่านผู้นี้แล กระทำอย่างนี้ มีสมาจารอย่างนี้ เป็นผู้ไม่สะอาด และเป็น
หนามของชาวบ้าน. ครั้นทราบ ภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ไม่สะอาด และเป็น
เสี้ยนหนามแห่งชาวบ้านอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ต่อไป.

ว่าด้วยอสังวรและสังวรเปรียบด้วยคนจับสัตว์ 6 ชนิด


[347] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรเป็นอย่างไร. ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม
ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณ

น้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดชึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ
แห่ง อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ
เป็นจริง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู . . . ดมกลิ่นด้วยจมูก . . . ลิ้มรสด้วยลิ้น . . .
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจ
ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ย่อม
ไม่เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามก
เหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง.
[348] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ 6 ชนิด
ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจร (ที่หากิน) ต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
คือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
ครั้นแล้วพึงขมวดปมรวมกันไว้ตรงกลางปล่อยไป. ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นแล
สัตว์ 6 ชนิดซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกันเหล่านั้น พึงดึงกันและกัน
เข้าหาเหยื่อและอารมณ์ของตน ๆ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอม
ปลวก จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจัก
บินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอก
พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไป
สู่ป่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ 6 ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไป
ตามวิสัยของตน ๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมี
กำลังมากกว่าสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่อำนาจ
แห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรม

ไม่กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุจะฉุดภิกษุนั้นไป
ในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ จะเป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจ
จะฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ จะ
เป็นของปฏิกูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรเป็นอย่างนี้แล.
[349] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปใน
รูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มี
ใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับ
ไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจ
ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็น
ผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อัน
บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง.
[350] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ 6 ชนิด
ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีอาหารต่างกัน คือ พึงจับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน
สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงผูกติดไว้
ที่หลักหรือที่เสาอันมั่นคง. ภิกษุทั้งหลาย ที่นั้นแล สัตว์ 6 ชนิดเหล่านั้น
ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีอาหารต่างกัน พึงดึงกันและกันเข้าหาอาหารและ
อารมณ์ของตน ๆ คือ งูพิษดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้
พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า. เราจักบินขึ้นสู่

อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมา
ด้วยคิดว่า เราจักไปเข้าป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ 6 ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ
พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลักหรือเสา
นั้นเอง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำ
ให้มากซึ่งกายด้วยสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปใน
รูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจ
ย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ
ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรเป็นอย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลาย
จักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้
มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง
ศึกษาอย่างนี้แล้ว.
จบ ฉัปปาณสูตรที่ 10

อรรถกถาฉัปปาณสูตรที่ 10


ในฉัปปาณสูตรที่ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุรูคตฺโต แปลว่า ตัวมีแผล. ชื่อว่า ปกฺกคตฺโต เพราะ
แผลเหล่านั้นนั่นแล เน่าฟอน. บทว่า สรวนํ แปลว่า ป่ามีหนาม. บทว่า
เอวเมว โข ความว่า บุคคลผู้ทุศีล พึงทราบว่า เหมือนคนมีตัวเต็มไป